เมนู

สมฺปนฺนํ สาลิเกทารํ สุวา ภุญฺชนฺติ โกสิย
ปฏิเวเทมิ เต พฺรหฺเม น นํ วาเรตุมุสฺสเห.
ดูก่อนโกสิยพราหมณ์ นกแขกเต้าทั้งหลายกิน
ข้าวสาลีในนาที่บริบูรณ์ ดูก่อนพราหมณ์ เราขอแจ้งให้
ท่านทราบ ท่านจะไม่อุตสาหะป้องกันข้าวสาลีในนา
นั้นหรือ.
ชื่อว่า ปริปุณณสัมปันนะ.
สัมปันนะ นี้ว่า อิมินา ปาติโมกฺขสํวเรน อุเปโต โหติ สมุเปโต
อุปคโต มุปคโต สมฺปนฺโน สมนฺนาคโต ภิกษุ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงแล้ว
เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว พรั่งพร้อมแล้ว ประกอบ
ด้วยปาติโมกขสังวรนี้. ชื่อว่า สมังคิสัมปันนะ.
สัมปันนะ นี้ว่า อิมิสฺสา ภนฺเต มหาปฐวิยา เหฏฺฐิมตลํ สมฺปนฺนํ
เสยฺยถาปิ ขุทฺทมธุํ อนีลกํ เอวมสฺสาทํ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พื้นเบื้อง
ล่างของมหาปฐพีนี้ ถึงพร้อมแล้ว มีง้วนดินอร่อย เปรียบเหมือนผึ้งเล็ก [มิ้ม]
ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น. ในที่นี้ ทั้งปริปุณณสัมปันนะ ทั้งสมังคิสัมปันนะ ย่อม
ถูก.
บทว่า

วิชฺชา

ความว่า ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าเจาะแทงธรรมที่
เป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า ทำให้รู้ และเพราะอรรถว่า ควรได้ ก็วิชชาเหล่านั้น
วิชชา 3 ก็มี วิชชา 8 ก็มี. วิชชา 3 พึงทราบตามนัยที่มาในภยเภรวสูตรนั่นแล
วิชชา 8 พึงทราบตามนัยที่มาในอัมพัฏฐสูตร. ความจริงในอัมพัฏฐสูตรนั้น
ท่านกำหนดอภิญญา 6 กับวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ เรียกว่าวิชชา 8.
บทว่า

จรณํ

ความว่าพึงทราบ ธรรม 15 เหล่านี้คือ ศีลสังวร, ความคุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์, ความรู้จักประมาณในโภชนะ , ชาคริยานุโยค, ศรัทธา, หิริ,
โอตตัปปะ, พาหุสัจจะ, ความเป็นผู้ปรารภความเพียร. ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น,
ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา รูปาวจรฌาน 4, จริงอยู่ ธรรม 15 เหล่านี้
นี้แหละ เพราะเหตุที่พระอริยสาวก ย่อมประพฤติ ย่อมไปสู่ทิศอมตะได้ด้วย
ธรรมเหล่านี้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า จรณะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
มหานาม อริยสาวกในพระศาสนานี้เป็นผู้มีศีล. จรณะทั้งหมดพึงทราบตามนัย
ที่ท่านกล่าวไว้ในมัชฌิมปัณณาสก์. วิชชาด้วย จรณะด้วย ชื่อว่า วิชชาและ
จรณะ.
วิชชาและจรณะของผู้ใดถึงพร้อมแล้ว บริบูรณ์แล้ว ผู้นี้นั้น ชื่อว่า
ผู้มีวิชชาและจรณะถึงพร้อมแล้ว ผู้ถึงพร้อมแล้ว ผู้พรั่งพร้อมแล้ว หรือผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาและจรณะทั้งหลาย ชื่อว่าผู้มีวิชชาและจรณะ
อันถึงพร้อมแล้ว . ความก็ถูกแม้ทั้งสองนัย. แด่พระตถาคตพระองค์นั้น ผู้มี
วิชชาและจรณะถึงพร้อมแล้ว.
บทว่า ตาทิโน ความว่า ผู้คงที่ ตามลักษณะของผู้คงที่มาในมหานิเทศ
โดยนัยว่าเป็นผู้คงที่ทั้งในอิฏฐารมณ์ คงที่ทั้งในอนิฏฐารมณ์ ดังนี้เป็นต้น อธิบาย
ว่า ผู้มีอาการไม่ผิดปกติในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ชื่อว่าผู้คงที่. บทว่า
ชุตินฺธรสฺส ได้แก่ ผู้รุ่งโรจน์. อธิบายว่าผู้ทรงไว้ซึ่งความแล่นซ่านออกแห่ง
รัศมีของพระสรีระอันมีสิริเกินกว่าดวงอาทิตย์ในฤดูสารท เหนือขุนเขายุคนธร
หรือจะกล่าวว่าผู้ทรงความรุ่งโรจน์ด้วยปัญญา ดังนี้ก็ควร. สมจริง ดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า
จตฺตาโร โลเก ปชฺโชตา ปญฺจเมตฺถ น วิชฺชติ
ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ รตฺติมาภาติ จนฺทิมา

อถ อคฺคิ ทิวารตฺตึ ตตฺถ ตตฺถ ปภาสติ
สมฺพุทฺโธ ตปตํ เสฏฺโฐ เอสา อาภา อนุตตรา.

แสงสว่างในโลกมี 4 ไม่มีข้อที่ 5 คือดวงอาทิตย์
ส่องสว่างกลางวัน ดวงจันทร์ส่องสว่างกลางคืน ส่วน
ไฟส่องสว่างในที่นั้น ๆ ทั้งกลางวันกลางคืน พระ-
สัมพุทธเจ้าทรงประเสริฐสุดแห่งแสงสว่าง แสงสว่าง
นี้ยอดเยี่ยม.

เพราะฉะนั้น จึงอธิบายว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งความแล่นซ่านแห่งพระรัศมี
ทางพระสรีระและทางพระปัญญาแม้ทั้งสองประการ. บทว่า อนฺติมเทหธาริโน
ได้แก่ ผู้ทรงพระสรีระสุดท้ายที่สุด. อธิบายว่าไม่เกิดอีก.
จะวินิจฉัยในบทว่า ตถาคตสฺส นี้ ดังนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า

ตถาคต

ด้วยเหตุ 8 ประการ อะไร
บ้าง คือ
1. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น
2. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น
3. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้
4. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามเป็นจริง
5. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง
6. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง
7. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง
8. ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำ.